• งานทะเบียนราษฎร
- การจดทะเบียนคนเกิด
- การจดทะเบียนคนตาย
• งานทะเบียนครอบครัว
- การจดทะเบียนสมรส
- การจดทะเบียนหย่า
- การจดทะเบียนรับรองบุตร
- การจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรม
- การจดทะเบียนเลิกรับบุตรบุญธรรม
• งานสัญชาติ
- การเข้าถือสัญชาติไทย
- การเสียสัญชาติไทย
- การขอกลับคืนสัญชาติไทย
• งานความร่วมมือทางศาล
• งานการโอนตัวนักโทษ
• งานรับรองเอกสาร
1 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 (ครอบครัว)
- กำหนดให้พนักงานทูตหรือกงสุลไทยเป็นผู้รับจดทะเบียนครอบครัว
2 พระราชบัญญัติการจดทะเบียนครอบครัว พ.ศ.2478
- กำหนดให้กระทรวงการต่างประเทศเป็นส่วนราชการเจ้าหน้าที่ ในการจดทะเบียนครอบครัว
ให้แก่คนไทย
3 พระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎร พ.ศ. 2534
- กำหนดให้กระทรวงการต่างประเทศเป็นส่วนราชการเจ้าหน้าที่ โดยมีพนักงานทูตและกงสุลไทย
เป็นนายทะเบียนสำหรับจดทะเบียนคนเกิด และจดทะเบียนคนตายสำหรับคนไทยในต่างประเทศ
4 พระราชบัญญัติการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม พ.ศ. 2522
- กำหนดหน้าที่บางประการให้กระทรวงการต่างประเทศปฏิบัติในเรื่องเกี่ยวกับการรับบุตร
ที่มี บุญธรรมชาวต่างชาติเข้ามามีส่วนและจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมในต่างประเทศ
งานการทะเบียนราษฎร และการทะเบียนครอบครัวตามที่กฎหมายกำหนดนี้เมื่อปฏิบัติ
ในต่างประเทศแล้ว (โดย สอท.หรือ สกญ.) ต้องรายงานเข้ามายังกระทรวงการต่างประเทศ
เพื่อพิจารณาส่งต่อไปให้สำนักทะเบียนกลาง กระทรวงมหาดไทย รวบรวมข้อมูลไว้เป็น
ศูนย์รวมอีกต่อหนึ่ง
5 พระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ.2508
- ประกาศกระทรวงมหาดไทย ลงวันที่ 15 พฤษภาคม 2510 แต่งตั้งให้พนักงานทูตหรือกงสุลไทย
เป็น พนักงานทูต หรือ กงสุลไทยเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ.2508
6 พระราชบัญญัติการปฏิบัติเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศในการดำเนินการตามคำพิพากษา
คดีอาญา พ.ศ. 2527
- กฏหมายฉบับนี้ได้กำหนดวิธีการให้ความร่วมมือระหว่างประเทศในการปฏิบัติตามคำพิพากษา
คดีอาญา ซึ่งอาจเป็นทั้งตามคำพิพากษาของศาลไทยหรือของศาลต่างประเทศทุกเรื่อง
เมื่อติดต่อขอความร่วมมือ ซึ่งกันและกันจะต้องติดต่อผ่านกระทรวงการต่างประเทศเสมอ
7 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา / ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
- การติดต่อขอความร่วมมือระหว่างศาลไทยกับศาลต่างประเทศในเรื่องทางอาญาและทางแพ่ง
เช่น การส่งคำคู่ความการสืบพยาน ฯลฯ
- ไม่ว่าจะเป็นการร้องขอจากฝ่ายใดจะต้องดำเนินการผ่านกระทรวงการต่างประเทศ หน้าที่
ตามสนธิสัญญาและความตกลงระหว่างประเทศสนธิสัญญาว่าด้วยความร่วมมือในการบังคับ
ให้เป็นไปตามคำพิพากษาคดีอาญา
- การติดต่อระหว่างประเทศไทยกับประเทศภาคี ไม่ว่าจะเป็นการร้องขอความร่วมมือ
จากฝ่ายใด จะต้องติดต่อผ่านกระทรวงการต่างประเทศ โดยกองสัญชาติและนิติกรณ์
กรมการกงสุล สอท. / สกญ.เป็นผู้ปฏิบัติ ทั้งนี้ ได้มีพระราชบัญญัติการปฏิบัติเพื่อความร่วมมือ
ระหว่างประเทศ ในการดำเนินการตามคำพิพากษาคดีอาญา พ.ศ.2527 รองรับอยู่
• สำหรับงานด้านนิติกรณ์ (Legalization) ยังไม่มีกฎหมายภายในรองรับ หรือกำหนดวิธีการปฏิบัติ
ไว้แต่เป็นการทำตามหลักปฏิบัติระหว่างประเทศเช่นกัน
• การรับรองนิติกรณ์ คือ การที่เจ้าพนักงานตามกฎหมายลงลายมือชื่อและตราประทับในตำแหน่ง
หน้าที่รับรองความถูกต้องตามกฎหมายของเอกสารต่าง ๆ ได้แก่
- เอกสารสำคัญที่ทางราชการออกให้
- นิติกรรมที่จัดทำขึ้นโดยเอกชน
• การรับรองเอกสารเป็นระบบสากลที่กระทรวงการต่างประเทศไม่ได้กำหนดขี้นแต่เป็นประเพณี
ที่นานาชาติ ปฏิบัติระหว่างกัน
• กองสัญชาติฯ เป็นหน่วยประสานงานเบื้องต้น / เป็นตัวกลางประสานกับสถานเอกอัครราชทูต
และ สถานกงสุลไทยในต่างประเทศ กระทรวงมหาดไทย กรมการปกครอง
สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กรมราชทัณฑ์ กระทรวงยุติธรรม สำนักอัยการสูงสุด และกับ
สอท.หรือ สกญ. ต่างประเทศในประเทศไทยด้วย
• ปัจจุบันคนไทยได้เดินทางไปติดต่อ/หรือไปทำงานที่มีถิ่นฐานอยู่ในต่างประเทศจำนวนมากขึ้น
งานทะเบียนราษฎร และทะเบียนครอบครัวจึงเพิ่มขึ้น
• การติดต่อทางการค้าและเศรษฐกิจกับต่างประเทศมีมากขึ้น การรับรองเอกสารการพาณิชย์
จึงมีปริมาณที่เพิ่มมากขึ้นและอาจเกิดกรณีโตแย้งสิทธิหรือการเป็นความฟ้องร้องกันมากขึ้น
• ปัจจุบัน กระทรวงการต่างประเทศเร่งพัฒนางานด้านสัญชาติ การทะเบียน และการรับรอง
นิติกรณ์เอกสารให้มีมาตรฐานมีประสิทธิภาพและความถูกต้องของเอกสาร รวมถึงพัฒนาการ
ให้บริการ เพื่อรักษาผลประโยชน์สาธารณะและคุณภาพชีวิตของประชาชน พร้อมทั้งภาพลักษณ์
ที่ดีของประเทศโดยรวม
อ้างอิง : ระเบียบกระทรวงการต่างประเทศว่าด้วยการรับรองเอกสาร พ.ศ. 2539