คำถามที่พบบ่อย

Q

เมื่อไปทำงานที่ต่างประเทศ แต่ไม่ได้รับความเป็นธรรม เช่น ไม่ได้รับเงินค่าจ้าง อีกทั้งยังถูกยึดหนังสือเดินทาง ทำให้ไม่สามารถเดินทางกลับมายังประเทศไทยได้ จะดำเนินการอย่างไรได้บ้าง

เมื่อไปทำงานที่ต่างประเทศ แต่ไม่ได้รับความเป็นธรรม เช่น ไม่ได้รับเงินค่าจ้าง อีกทั้งยังถูกยึดหนังสือเดินทาง ทำให้ไม่สามารถเดินทางกลับมายังประเทศไทยได้ จะดำเนินการอย่างไรได้บ้าง

A

ติดต่อที่กองคุ้มครองฯหรือสถานทูตไทย เพื่อขอความช่วยเหลือ

ติดต่อที่กองคุ้มครองฯหรือสถานทูตไทย เพื่อขอความช่วยเหลือ

Q

หากคนไทยประสบอุบัติเหตุอยู่ที่ต่างประเทศ รักษาอยู่ห้องไอซียู ทางบ้านต้องการย้ายผู้ป่วยกลับมารักษาตัวที่ประเทศไทย จะต้องดำเนินการอย่างไร

หากคนไทยประสบอุบัติเหตุอยู่ที่ต่างประเทศ รักษาอยู่ห้องไอซียู ทางบ้านต้องการย้ายผู้ป่วยกลับมารักษาตัวที่ประเทศไทย จะต้องดำเนินการอย่างไร

A

แนะนำให้ติดต่อสถานทูตไทยที่ประเทศนั้นๆ เพื่อดำเนินการ

แนะนำให้ติดต่อสถานทูตไทยที่ประเทศนั้นๆ เพื่อดำเนินการ

Q

ในกรณีไปทำงานในต่างประเทศ แต่วีซ่าหมดอายุ ทางบริษัทที่ไปทำงานด้วยไม่ต่อวีซ่าให้และไม่ยินยอมซื้อตั๋วเครื่องบินเพื่อให้เดินทางกลับมายังประเทศไทย ตอนนี้จึงอาศัยอยู่โดยไม่มีวีซ่ามาประมาณ 1 เดือน หากต้องการกลับประเทศไทยควรทำอย่างไร

ในกรณีไปทำงานในต่างประเทศ แต่วีซ่าหมดอายุ ทางบริษัทที่ไปทำงานด้วยไม่ต่อวีซ่าให้และไม่ยินยอมซื้อตั๋วเครื่องบินเพื่อให้เดินทางกลับมายังประเทศไทย ตอนนี้จึงอาศัยอยู่โดยไม่มีวีซ่ามาประมาณ 1 เดือน หากต้องการกลับประเทศไทยควรทำอย่างไร

A

แนะนำให้ติดต่อสถานทูตไทยในประเทศนั้น ๆ

แนะนำให้ติดต่อสถานทูตไทยในประเทศนั้น ๆ

Q

คนไทยเดินทางไปทำงานแบบผิดกฎหมายที่ต่างประเทศ และไม่ได้รับความเป็นธรรม หรือถูกจับ หากญาติที่ประเทศไทยต้องการขอความช่วยเหลือ จะต้องติดต่อกับสถานทูตไทยในประเทศนั้น ๆ หรือติดต่อที่กองคุ้มครองฯ

คนไทยเดินทางไปทำงานแบบผิดกฎหมายที่ต่างประเทศ และไม่ได้รับความเป็นธรรม หรือถูกจับ หากญาติที่ประเทศไทยต้องการขอความช่วยเหลือ จะต้องติดต่อกับสถานทูตไทยในประเทศนั้น ๆ หรือติดต่อที่กองคุ้มครองฯ

A

สามารถติดต่อที่กองคุ้มครองฯ หรือสถานทูตไทย เพื่อขอความช่วยเหลือ

สามารถติดต่อที่กองคุ้มครองฯ หรือสถานทูตไทย เพื่อขอความช่วยเหลือ

Q

เมื่อไปทำงานที่ต่างประเทศอย่างถูกกฎหมาย โดยมีสัญญาการว่าจ้างที่ถูกต้องระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง และไม่ได้รับความเป็นธรรม ถ้าต้องการเรียกร้องขอความช่วยเหลือ ทางกรมการกงสุลสามารถช่วยเหลืออย่างไรได้บ้าง

เมื่อไปทำงานที่ต่างประเทศอย่างถูกกฎหมาย โดยมีสัญญาการว่าจ้างที่ถูกต้องระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง และไม่ได้รับความเป็นธรรม ถ้าต้องการเรียกร้องขอความช่วยเหลือ ทางกรมการกงสุลสามารถช่วยเหลืออย่างไรได้บ้าง

A

ให้ติดต่อกรมแรงงาน (เนื่องจากจะมีกรมแรงงานตั้งอยู่ประเทศ นั้น ๆ) และสถานทูต เพราะเป็นตัวกลางระว่างนายจ้างกับลูกจ้าง

ให้ติดต่อกรมแรงงาน (เนื่องจากจะมีกรมแรงงานตั้งอยู่ประเทศ นั้น ๆ) และสถานทูต เพราะเป็นตัวกลางระว่างนายจ้างกับลูกจ้าง

Q

กรณีที่เดินทางไปต่างประเทศ แล้วติดอยู่ที่ตม. รอส่งตัวกลับ ระหว่างรอส่งตัวกลับ เจ้าหน้าที่ตม.ไม่ให้ทานอาหาร และไม่ได้รับความเป็นธรรม จึงอยากขอความช่วยเหลือ จะสามารถติดต่อได้ที่ไหน

กรณีที่เดินทางไปต่างประเทศ แล้วติดอยู่ที่ตม. รอส่งตัวกลับ ระหว่างรอส่งตัวกลับ เจ้าหน้าที่ตม.ไม่ให้ทานอาหาร และไม่ได้รับความเป็นธรรม จึงอยากขอความช่วยเหลือ จะสามารถติดต่อได้ที่ไหน

A

ให้ติดต่อสถานทูตเพื่อให้สถานทูตประสานงานและดำเนินการช่วยเหลือระหว่างก่อนการถูกส่งตัวกลับ

ให้ติดต่อสถานทูตเพื่อให้สถานทูตประสานงานและดำเนินการช่วยเหลือระหว่างก่อนการถูกส่งตัวกลับ

Q

ในกรณีที่ไปทำงานที่ต่างประเทศ และเสียชีวิต ต้องการนำศพกลับมายังประเทศไทย และได้มีการติดต่อที่สถานทูตไทยในต่างประเทศนั้นแล้ว จำเป็นต้องมายื่นเรื่องที่กรมการกงสุล แจ้งวัฒนะอีกหรือไม่

ในกรณีที่ไปทำงานที่ต่างประเทศ และเสียชีวิต ต้องการนำศพกลับมายังประเทศไทย และได้มีการติดต่อที่สถานทูตไทยในต่างประเทศนั้นแล้ว จำเป็นต้องมายื่นเรื่องที่กรมการกงสุล แจ้งวัฒนะอีกหรือไม่

A

ให้ประชาชนโทรติดต่อประสานงานที่กองคุ้มครองคนไทยในต่างประเทศโดยตรง 02 575 1023

ให้ประชาชนโทรติดต่อประสานงานที่กองคุ้มครองคนไทยในต่างประเทศโดยตรง 02 575 1023

Q

หากต้องการให้ช่วยตามหาญาติที่เดินทางไปทำงานในต่างประเทศแล้วขาดการติดต่อเป็นเวลานาน 10 ปี โดยที่ไม่ทราบข้อมูลอะไรเลย สามารถติดต่อขอให้ทางกองคุ้มครองคนไทยในต่างประเทศช่วยตรวจสอบได้หรือไม่

หากต้องการให้ช่วยตามหาญาติที่เดินทางไปทำงานในต่างประเทศแล้วขาดการติดต่อเป็นเวลานาน 10 ปี โดยที่ไม่ทราบข้อมูลอะไรเลย สามารถติดต่อขอให้ทางกองคุ้มครองคนไทยในต่างประเทศช่วยตรวจสอบได้หรือไม่

A

แนะนำให้ประชาชนติดต่อที่กองคุ้มครองคนไทยในต่างประเทศ ชั้น 3 โดยตรง โดยสามารถติดต่อสอบถามข้อมูลก่อนได้ที่ 02 575 1023

แนะนำให้ประชาชนติดต่อที่กองคุ้มครองคนไทยในต่างประเทศ ชั้น 3 โดยตรง โดยสามารถติดต่อสอบถามข้อมูลก่อนได้ที่ 02 575 1023

Q

กรณีที่ติดอยู่ที่ ตม. มากกว่า 1 อาทิตย์ และยังไม่ถูกปล่อยตัวกลับประเทศไทย ญาติสามารถติดต่อสอบถามข้อมูลได้จากหน่วยงานใด

กรณีที่ติดอยู่ที่ ตม. มากกว่า 1 อาทิตย์ และยังไม่ถูกปล่อยตัวกลับประเทศไทย ญาติสามารถติดต่อสอบถามข้อมูลได้จากหน่วยงานใด

A

ควรติดต่อที่สถานทูตไทย ณ ประเทศนั้น ๆ เพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อประสานงานไปยังสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองประเทศนั้น ๆ

ควรติดต่อที่สถานทูตไทย ณ ประเทศนั้น ๆ เพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อประสานงานไปยังสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองประเทศนั้น ๆ

Q

เมื่อผู้เดินทางไปต่างประเทศขาดการติดต่อเป็นเวลานานหลายวัน หากต้องการตรวจสอบว่าถูกจับหรือไม่ ญาติจะสามารถตรวจสอบข้อมูลได้จากที่สถานทูตไทยหรือกองคุ้มครองคนไทยในต่างประเทศ

เมื่อผู้เดินทางไปต่างประเทศขาดการติดต่อเป็นเวลานานหลายวัน หากต้องการตรวจสอบว่าถูกจับหรือไม่ ญาติจะสามารถตรวจสอบข้อมูลได้จากที่สถานทูตไทยหรือกองคุ้มครองคนไทยในต่างประเทศ

A

สามารถตรวจสอบข้อมูลได้จากสถานทูตไทยในประเทศนั้น ๆ

สามารถตรวจสอบข้อมูลได้จากสถานทูตไทยในประเทศนั้น ๆ

Q

ในกรณีที่ได้รับความเดือดร้อนในต่างประเทศหากมีค่าใช้จ่ายจะต้องรับผิดชอบหรือไม่ เพียงใด ?

ในกรณีที่ได้รับความเดือดร้อนในต่างประเทศหากมีค่าใช้จ่ายจะต้องรับผิดชอบหรือไม่ เพียงใด ?

A

เป็นหลักปฏิบัติทั่วไป และเป็นสากลว่า ผู้ที่เดินทางไปต่างประเทศจะต้องรับผิดชอบตัวเองเป็นอันดับแรก อย่างไรก็ดีกรณีฉุกเฉิน และไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ รวมทั้งญาติ พี่น้องในประเทศไทยมีฐานะยากจนไม่สามารถรับผิดชอบค่าใช้จ่ายได้ รัฐบาลมีแนวปฏิบัติที่จะทดรองจ่ายค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นไปก่อน โดยญาติ พี่น้อง หรือตัวผู้ตกทุกข์ได้ยากในต่างประเทศจะต้องทำหนังสือสัญญารับสภาพหนี้ และหนังสือสัญญาชดใช้เงินคืน ไว้กับทางราชการภายในขอบเขต และหลักเกณฑ์ของระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือคนไทยในต่างประเทศ พ.ศ. 2541 ทั้งนี้ ไม่รวมค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวกับการฟ้องร้องทางแพ่ง เช่นการจ้างทนายความ หรือค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับคดีดังกล่าว

เป็นหลักปฏิบัติทั่วไป และเป็นสากลว่า ผู้ที่เดินทางไปต่างประเทศจะต้องรับผิดชอบตัวเองเป็นอันดับแรก อย่างไรก็ดีกรณีฉุกเฉิน และไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ รวมทั้งญาติ พี่น้องในประเทศไทยมีฐานะยากจนไม่สามารถรับผิดชอบค่าใช้จ่ายได้ รัฐบาลมีแนวปฏิบัติที่จะทดรองจ่ายค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นไปก่อน โดยญาติ พี่น้อง หรือตัวผู้ตกทุกข์ได้ยากในต่างประเทศจะต้องทำหนังสือสัญญารับสภาพหนี้ และหนังสือสัญญาชดใช้เงินคืน ไว้กับทางราชการภายในขอบเขต และหลักเกณฑ์ของระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือคนไทยในต่างประเทศ พ.ศ. 2541 ทั้งนี้ ไม่รวมค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวกับการฟ้องร้องทางแพ่ง เช่นการจ้างทนายความ หรือค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับคดีดังกล่าว

Q

หากเดินทางไปพำนักต่างประเทศระยะยาว ควรปฏิบัติเช่นใดเมื่อเดินทางไปถึง ?

หากเดินทางไปพำนักต่างประเทศระยะยาว ควรปฏิบัติเช่นใดเมื่อเดินทางไปถึง ?

A

ผู้ที่จะไปพำนักในต่างประเทศควรปฏิบัติดังนี้
1. ไปรายงานตัวต่อสถานเอกอัครราชทูต หรือสถานกงสุลใหญ่ไทยในประเทศ / เมือง นั้นๆ
เพื่อประโยชน์ของตัวท่านเอง ในกรณีที่ทางราชการไทยจะส่งข่าว หรือการแจ้งเตือนใดๆ
2. จดหมายเลขโทรศัพท์ Hotline ของสถานเอกอัครราชทูต หรือสถานกงสุลใหญ่ไทย เพื่อติดต่อกรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน

ผู้ที่จะไปพำนักในต่างประเทศควรปฏิบัติดังนี้
1. ไปรายงานตัวต่อสถานเอกอัครราชทูต หรือสถานกงสุลใหญ่ไทยในประเทศ / เมือง นั้นๆ
เพื่อประโยชน์ของตัวท่านเอง ในกรณีที่ทางราชการไทยจะส่งข่าว หรือการแจ้งเตือนใดๆ
2. จดหมายเลขโทรศัพท์ Hotline ของสถานเอกอัครราชทูต หรือสถานกงสุลใหญ่ไทย เพื่อติดต่อกรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน