คำถามที่พบบ่อย

Q

บุตรคนที่ 1 อายุ 13 ปี บิดามารดาหย่าร้างกัน และในใบหย่าระบุว่ามารดาเป็นผู้ดูแลบุตร โดยหย่าร้างแต่ยังอาศัยอยู่ด้วยกัน ส่วนบุตรคนที่ 2 อายุ 6 ปี บิดามารดาแยกทางกัน ในใบสูติบัตรระบุชื่อบิดาคนเดียวกันกับบุตรคนแรก หากมารดาจะพาบุตรทั้งสองคนมาทำหนังสือเดินทาง จะต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง

บุตรคนที่ 1 อายุ 13 ปี บิดามารดาหย่าร้างกัน และในใบหย่าระบุว่ามารดาเป็นผู้ดูแลบุตร โดยหย่าร้างแต่ยังอาศัยอยู่ด้วยกัน ส่วนบุตรคนที่ 2 อายุ 6 ปี บิดามารดาแยกทางกัน ในใบสูติบัตรระบุชื่อบิดาคนเดียวกันกับบุตรคนแรก หากมารดาจะพาบุตรทั้งสองคนมาทำหนังสือเดินทาง จะต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง

A

- คนที่ 1 ใช้ใบหย่าที่ระบุว่ามารดาเป็นผู้ปกครอง
- คนที่ 2 มารดาทำหนังสือปกครองบุตร (ปค.14) เพราะบิดา มารดาไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน

- คนที่ 1 ใช้ใบหย่าที่ระบุว่ามารดาเป็นผู้ปกครอง
- คนที่ 2 มารดาทำหนังสือปกครองบุตร (ปค.14) เพราะบิดา มารดาไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน

Q

บิดามารดาไม่ได้จดทะเบียนสมรสและแยกทางกัน มารดาอายุ 18 ปี ส่วนบิดาอายุ 20 ปี มีบุตรอายุ 1 เดือน ซึ่งไม่สามารถติดต่อบิดาได้ ส่วนตายายมีการหย่าร้าง และในใบหย่าระบุว่ายายเป็นผู้ดูแลมารดาอายุ 18 ปี หากต้องการทำหนังสือเดินทาง จะใช้เอกสารอะไรบ้าง

บิดามารดาไม่ได้จดทะเบียนสมรสและแยกทางกัน มารดาอายุ 18 ปี ส่วนบิดาอายุ 20 ปี มีบุตรอายุ 1 เดือน ซึ่งไม่สามารถติดต่อบิดาได้ ส่วนตายายมีการหย่าร้าง และในใบหย่าระบุว่ายายเป็นผู้ดูแลมารดาอายุ 18 ปี หากต้องการทำหนังสือเดินทาง จะใช้เอกสารอะไรบ้าง

A

เอกสารที่จะต้องใช้ ดังนี้
1. บันทึกการหย่าตัวจริงของยายที่ระบุว่ายายเป็นผู้ดูแลมารดาที่อายุ 18 ปี
2. ส่วนมารดาที่อายุ 18 ปี จะต้องไปติดต่อเขต/อำเภอที่มีชื่อในทะเบียนบ้านเพื่อขอหนังสือปกครองบุตร (ปค.14)
3. บัตรประชาชนตัวจริงของยาย
4. บัตรประชาชนตัวจริงของมารดา
5. สูติบัตรตัวจริงของผู้เยาว์

เอกสารที่จะต้องใช้ ดังนี้
1. บันทึกการหย่าตัวจริงของยายที่ระบุว่ายายเป็นผู้ดูแลมารดาที่อายุ 18 ปี
2. ส่วนมารดาที่อายุ 18 ปี จะต้องไปติดต่อเขต/อำเภอที่มีชื่อในทะเบียนบ้านเพื่อขอหนังสือปกครองบุตร (ปค.14)
3. บัตรประชาชนตัวจริงของยาย
4. บัตรประชาชนตัวจริงของมารดา
5. สูติบัตรตัวจริงของผู้เยาว์

Q

ทำหนังสือเดินทางโดยลงลายมือชื่อในเล่มด้วยมือขวา แต่ปัจจุบันนี้มือขวาโดนตัดขาด ดังนั้นหนังสือเดินทางจำเป็นต้องทำใหม่หรือสามารถใช้เล่มเดิมได้

ทำหนังสือเดินทางโดยลงลายมือชื่อในเล่มด้วยมือขวา แต่ปัจจุบันนี้มือขวาโดนตัดขาด ดังนั้นหนังสือเดินทางจำเป็นต้องทำใหม่หรือสามารถใช้เล่มเดิมได้

A

สามารถใช้เล่มเดิมได้ โดยแนะนำให้ติดต่อสอบถามกับตม. ก่อน เพราะทั้งนี้ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของตม.

สามารถใช้เล่มเดิมได้ โดยแนะนำให้ติดต่อสอบถามกับตม. ก่อน เพราะทั้งนี้ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของตม.

Q

การ Endorsement กรณีที่ไม่มีวีซ่าอยู่ในเล่มเดิม เช่น Endorsement กรณีการเปลี่ยนชื่อ โดยต้องการยืนยันว่าเป็นบุคคลคนเดียวกันสามารถทำได้หรือไม่ และทำได้ทุกสาขาหรือไม่

การ Endorsement กรณีที่ไม่มีวีซ่าอยู่ในเล่มเดิม เช่น Endorsement กรณีการเปลี่ยนชื่อ โดยต้องการยืนยันว่าเป็นบุคคลคนเดียวกันสามารถทำได้หรือไม่ และทำได้ทุกสาขาหรือไม่

A

สามารถทำได้ และสามารถติดต่อได้ทุกสาขาที่มีเปิดบริการ การ Endorsement

สามารถทำได้ และสามารถติดต่อได้ทุกสาขาที่มีเปิดบริการ การ Endorsement

Q

บิดามารดามีการจดทะเบียนสมรส บิดาเป็นชาวต่างชาติ มารดาเป็นคนไทย บุตรอาศัยอยู่ต่างประเทศกับย่า บิดาต้องโทษจำคุกในต่างประเทศ และมารดาอาศัยอยู่ที่ประเทศไทย หากย่าจะพาหลานไปทำหนังสือเดินทางเล่มใหม่ที่สอท.ไทย ต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง

บิดามารดามีการจดทะเบียนสมรส บิดาเป็นชาวต่างชาติ มารดาเป็นคนไทย บุตรอาศัยอยู่ต่างประเทศกับย่า บิดาต้องโทษจำคุกในต่างประเทศ และมารดาอาศัยอยู่ที่ประเทศไทย หากย่าจะพาหลานไปทำหนังสือเดินทางเล่มใหม่ที่สอท.ไทย ต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง

A

เอกสารที่จะต้องใช้
- ในส่วนของมารดาจะต้องทำหนังสือยินยอมให้ผู้เยาว์เดินทางไปต่างประเทศและทำหนังสือมอบอำนาจผ่านเขต/อำเภอ ที่มารดามีชื่อในทะเบียนบ้าน และบัตรประชาชนตัวจริงมารดา
- ในส่วนของบิดาจะต้องทำหนังสือยินยอมให้ผู้เยาว์เดินทางไปต่างประเทศและทำหนังสือมอบอำนาจพร้อมทั้งรับรองสำเนาหน้าหนังสือเดินทางของบิดาผ่านทางเรือนจำ (ถ้าเอกสารไม่ใช่ภาษาอังกฤษจะต้องนำเอกสารไปรับรองผ่านสถานทูตที่บิดาพำนักอยู่ก่อน แล้วนำไปแปลเป็นภาษาอังกฤษแล้วนำมารับรองที่กรมการกงสุล) เมื่อเอกสารครบถ้วนสมบูรณ์ตามนี้ ให้ส่งเอกสารไปยังย่าที่ต่างประเทศ
- เอกสารย่า ที่ต้องมีคือ หนังสือเดินทางในการลงนามให้ผู้เยาว์
- เอกสารผู้เยาว์ ถ้ามีอายุน้อยกว่า 7 ปีให้ใช้สูติบัตรตัวจริง ถ้ามากกว่า 7 ปีใช้บัตรประชาชนตัวจริง

เอกสารที่จะต้องใช้
- ในส่วนของมารดาจะต้องทำหนังสือยินยอมให้ผู้เยาว์เดินทางไปต่างประเทศและทำหนังสือมอบอำนาจผ่านเขต/อำเภอ ที่มารดามีชื่อในทะเบียนบ้าน และบัตรประชาชนตัวจริงมารดา
- ในส่วนของบิดาจะต้องทำหนังสือยินยอมให้ผู้เยาว์เดินทางไปต่างประเทศและทำหนังสือมอบอำนาจพร้อมทั้งรับรองสำเนาหน้าหนังสือเดินทางของบิดาผ่านทางเรือนจำ (ถ้าเอกสารไม่ใช่ภาษาอังกฤษจะต้องนำเอกสารไปรับรองผ่านสถานทูตที่บิดาพำนักอยู่ก่อน แล้วนำไปแปลเป็นภาษาอังกฤษแล้วนำมารับรองที่กรมการกงสุล) เมื่อเอกสารครบถ้วนสมบูรณ์ตามนี้ ให้ส่งเอกสารไปยังย่าที่ต่างประเทศ
- เอกสารย่า ที่ต้องมีคือ หนังสือเดินทางในการลงนามให้ผู้เยาว์
- เอกสารผู้เยาว์ ถ้ามีอายุน้อยกว่า 7 ปีให้ใช้สูติบัตรตัวจริง ถ้ามากกว่า 7 ปีใช้บัตรประชาชนตัวจริง

Q

มารดาเป็นชาวต่างชาติและบิดาถือสัญชาติไทย บุตรเกิดในประเทศไทย มีอายุ 3 ขวบ มีชื่อในทะเบียนบ้านญาติ ไม่ได้อยู่ในทะเบียนบ้านที่มีชื่อของบิดา หากมารดาจะพาบุตรมาทำหนังสือเดินทาง บิดาไม่สะดวกมา ต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง และสามารถทำได้ทุกสำนักงานหรือไม่?

มารดาเป็นชาวต่างชาติและบิดาถือสัญชาติไทย บุตรเกิดในประเทศไทย มีอายุ 3 ขวบ มีชื่อในทะเบียนบ้านญาติ ไม่ได้อยู่ในทะเบียนบ้านที่มีชื่อของบิดา หากมารดาจะพาบุตรมาทำหนังสือเดินทาง บิดาไม่สะดวกมา ต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง และสามารถทำได้ทุกสำนักงานหรือไม่?

A

สามารถทำได้ทุกสำนักงาน เอกสารที่จะต้องนำมา มีดังต่อไปนี้
1. สูติบัตรตัวจริงของผู้เยาว์
2. หนังสือเดินทางตัวจริงของมารดา
3. หนังสือยินยอมฯ พร้อมบัตรประชาชนตัวจริงของบิดา

สามารถทำได้ทุกสำนักงาน เอกสารที่จะต้องนำมา มีดังต่อไปนี้
1. สูติบัตรตัวจริงของผู้เยาว์
2. หนังสือเดินทางตัวจริงของมารดา
3. หนังสือยินยอมฯ พร้อมบัตรประชาชนตัวจริงของบิดา

Q

เด็กอายุ 15 ปี บิดามารดาหย่าร้างกัน ในใบหย่าระบุว่าบิดาเป็นผู้ดูแล ปัจจุบันบุตรอาศัยอยู่กับมารดา และมารดาพามาทำหนังสือเดินทาง ส่วนบิดาทำหนังสือยินยอมที่เขต/อำเภอแล้ว และบุตรมีบัตรประชาชน จะต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง?

เด็กอายุ 15 ปี บิดามารดาหย่าร้างกัน ในใบหย่าระบุว่าบิดาเป็นผู้ดูแล ปัจจุบันบุตรอาศัยอยู่กับมารดา และมารดาพามาทำหนังสือเดินทาง ส่วนบิดาทำหนังสือยินยอมที่เขต/อำเภอแล้ว และบุตรมีบัตรประชาชน จะต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง?

A

1. กรณีถ้าจะยื่นเอกสารบันทึกการหย่า บิดาจะต้องเป็นผู้ลงนามให้ผู้เยาว์แต่เพียงผู้เดียว
2. กรณีถ้ามารดาจะพาผู้เยาว์มาทำหนังสือเดินทาง บิดาจะต้องทำหนังสือยินยอมผ่านเขต/อำเภอที่บิดามีชื่อในทะเบียนบ้านพร้อมบัตรประชาชนบิดาตัวจริง บัตรประชาชนมารดา และบัตรประชาชนผู้เยาว์มาแสดง (ไม่ต้องยื่นเอกสารทะเบียนหย่า)

1. กรณีถ้าจะยื่นเอกสารบันทึกการหย่า บิดาจะต้องเป็นผู้ลงนามให้ผู้เยาว์แต่เพียงผู้เดียว
2. กรณีถ้ามารดาจะพาผู้เยาว์มาทำหนังสือเดินทาง บิดาจะต้องทำหนังสือยินยอมผ่านเขต/อำเภอที่บิดามีชื่อในทะเบียนบ้านพร้อมบัตรประชาชนบิดาตัวจริง บัตรประชาชนมารดา และบัตรประชาชนผู้เยาว์มาแสดง (ไม่ต้องยื่นเอกสารทะเบียนหย่า)

Q

ผู้เยาว์เกิดในต่างประเทศ ทำหนังสือเดินทางเล่มแรกที่สอท.ไทย ปัจจุบันอาศัยอยู่ในประเทศไทยและหนังสือเดินทางหมดอายุแล้ว ไม่มีเอกสารใด ๆ ติดตัวเข้ามาในไทย และยังไม่ได้นำชื่อเข้าทะเบียนบ้านในประเทศไทย จะสามารถทำหนังสือเดินทางได้หรือไม่ในกรณีฉุกเฉิน

ผู้เยาว์เกิดในต่างประเทศ ทำหนังสือเดินทางเล่มแรกที่สอท.ไทย ปัจจุบันอาศัยอยู่ในประเทศไทยและหนังสือเดินทางหมดอายุแล้ว ไม่มีเอกสารใด ๆ ติดตัวเข้ามาในไทย และยังไม่ได้นำชื่อเข้าทะเบียนบ้านในประเทศไทย จะสามารถทำหนังสือเดินทางได้หรือไม่ในกรณีฉุกเฉิน

A

ไม่สามารถทำได้ เพราะจะต้องใช้เอกสารสูติบัตรจริง เพื่อมาดำเนินการทำหนังสือเดินทางและนำชื่อผู้เยาว์เข้าทะเบียนบ้านในประเทศไทย

ไม่สามารถทำได้ เพราะจะต้องใช้เอกสารสูติบัตรจริง เพื่อมาดำเนินการทำหนังสือเดินทางและนำชื่อผู้เยาว์เข้าทะเบียนบ้านในประเทศไทย

Q

หากต้องการมอบอำนาจให้ดำเนินการรับเล่มแทน กรณีที่ผู้รับเล่มแทนเป็นข้าราชการ แต่ไม่มีบัตรประชาชน จะสามารถยื่นบัตรข้าราชการแทนได้หรือไม่

หากต้องการมอบอำนาจให้ดำเนินการรับเล่มแทน กรณีที่ผู้รับเล่มแทนเป็นข้าราชการ แต่ไม่มีบัตรประชาชน จะสามารถยื่นบัตรข้าราชการแทนได้หรือไม่

A

ผู้มอบอำนาจสามารถยื่นบัตรข้าราชการรับแทนได้

ผู้มอบอำนาจสามารถยื่นบัตรข้าราชการรับแทนได้

Q

ถ้าหากเปลี่ยนศาสนา จำเป็นต้องทำหนังสือเดินทางใหม่ด้วยหรือไม่

ถ้าหากเปลี่ยนศาสนา จำเป็นต้องทำหนังสือเดินทางใหม่ด้วยหรือไม่

A

ไม่จำเป็นต้องทำใหม่ (หรือผู้ร้องฯ ว่าเปลี่ยนจากศาสนาพุทธเป็นศาสนาอิสลามหรือไม่) ขึ้นอยู่กับรูปภาพในหนังสือเดินทาง ซึ่งไม่มีระเบียบว่าต้องทำใหม่ และหนังสือเดินทางไม่ได้ระบุศาสนา

ไม่จำเป็นต้องทำใหม่ (หรือผู้ร้องฯ ว่าเปลี่ยนจากศาสนาพุทธเป็นศาสนาอิสลามหรือไม่) ขึ้นอยู่กับรูปภาพในหนังสือเดินทาง ซึ่งไม่มีระเบียบว่าต้องทำใหม่ และหนังสือเดินทางไม่ได้ระบุศาสนา

Q

หนังสือเดินทางคืออะไร ?

หนังสือเดินทางคืออะไร ?

A

หนังสือเดินทาง (Passport) เป็นเอกสารสำคัญที่จะแสดงรายละเอียดของบุคคล ที่จะเดินทางไปต่างประเทศโดยจะระบุ ชื่อผู้เดินทาง ลายมือชื่อ รูปถ่าย อายุ สัญชาติ ศาสนา อาชีพ เลขที่หนังสือเดินทาง เป็นต้น ทั้งนี้เพื่ออำนวยความสะดวกในการเดินทางไปต่างประเทศ และเป็นเอกสารสำคัญที่จะใช้เป็นหลักฐานที่จะขอหนังสือตรวจลงตรา (Visa) เข้าประเทศต่าง ๆ

หนังสือเดินทาง (Passport) เป็นเอกสารสำคัญที่จะแสดงรายละเอียดของบุคคล ที่จะเดินทางไปต่างประเทศโดยจะระบุ ชื่อผู้เดินทาง ลายมือชื่อ รูปถ่าย อายุ สัญชาติ ศาสนา อาชีพ เลขที่หนังสือเดินทาง เป็นต้น ทั้งนี้เพื่ออำนวยความสะดวกในการเดินทางไปต่างประเทศ และเป็นเอกสารสำคัญที่จะใช้เป็นหลักฐานที่จะขอหนังสือตรวจลงตรา (Visa) เข้าประเทศต่าง ๆ