คำถามที่พบบ่อย

Q

การนิติกรณ์ลายมือชื่อคนไทยหรือกรรมการบริษัทไทยที่เป็นกรรมการหรือผู้ถือหุ้นในบริษัทที่จดทะเบียนในต่างประเทศต้องทำอย่างไร

การนิติกรณ์ลายมือชื่อคนไทยหรือกรรมการบริษัทไทยที่เป็นกรรมการหรือผู้ถือหุ้นในบริษัทที่จดทะเบียนในต่างประเทศต้องทำอย่างไร

A
  • กรณีคนไทยเป็นกรรมการหรือผู้ถือหุ้นในบริษัทที่จดทะเบียนในต่างประเทศ
    หากต้องการให้กรมการกงสุลนิติกรณ์ลายมือชื่อกรรมการหรือผู้ถือหุ้นที่เป็นคนไทยดังกล่าวในเอกสารบริษัทที่จดทะเบียนในต่างประเทศ ผู้ขอนิติกรณ์จะต้องนำหนังสือรับรองบริษัทที่จดทะเบียนในต่างประเทศดังกล่าวที่ผ่านการรับรองจากหน่วยงานโนตารีพับลิกหรือกระทรวงการต่างประเทศของประเทศนั้น และสถานเอกอัครราชทูตหรือสถานกงสุลใหญ่ไทยในประเทศนั้นมาแสดงต่อกรมการกงสุลก่อน หลังจากนั้นจึงนำเอกสารมาขอรับการนิติกรณ์ที่กรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศของไทย
  • กรณีบริษัทไทยเป็นผู้ถือหุ้นในบริษัทที่จดทะเบียนในต่างประเทศ หากต้องการให้กรมการกงสุลนิติกรณ์ลายมือชื่อกรรมการบริษัทไทยดังกล่าวในฐานะผู้ถือหุ้นในบริษัทที่จดทะเบียนในต่างประเทศ ผู้ขอนิติกรณ์จะต้องนำหนังสือรับรองบริษัทที่จดทะเบียนในต่างประเทศดังกล่าวที่ผ่านการรับรองจากหน่วยงานโนตารีพับลิกหรือกระทรวงการต่างประเทศของประเทศนั้น และสถานเอกอัครราชทูตหรือสถานกงสุลใหญ่ไทยในประเทศนั้นมาแสดงต่อกรมการกงสุลก่อน
  • กรณีคนไทยเป็นกรรมการหรือผู้ถือหุ้นในบริษัทที่จดทะเบียนในต่างประเทศ
    หากต้องการให้กรมการกงสุลนิติกรณ์ลายมือชื่อกรรมการหรือผู้ถือหุ้นที่เป็นคนไทยดังกล่าวในเอกสารบริษัทที่จดทะเบียนในต่างประเทศ ผู้ขอนิติกรณ์จะต้องนำหนังสือรับรองบริษัทที่จดทะเบียนในต่างประเทศดังกล่าวที่ผ่านการรับรองจากหน่วยงานโนตารีพับลิกหรือกระทรวงการต่างประเทศของประเทศนั้น และสถานเอกอัครราชทูตหรือสถานกงสุลใหญ่ไทยในประเทศนั้นมาแสดงต่อกรมการกงสุลก่อน หลังจากนั้นจึงนำเอกสารมาขอรับการนิติกรณ์ที่กรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศของไทย
  • กรณีบริษัทไทยเป็นผู้ถือหุ้นในบริษัทที่จดทะเบียนในต่างประเทศ หากต้องการให้กรมการกงสุลนิติกรณ์ลายมือชื่อกรรมการบริษัทไทยดังกล่าวในฐานะผู้ถือหุ้นในบริษัทที่จดทะเบียนในต่างประเทศ ผู้ขอนิติกรณ์จะต้องนำหนังสือรับรองบริษัทที่จดทะเบียนในต่างประเทศดังกล่าวที่ผ่านการรับรองจากหน่วยงานโนตารีพับลิกหรือกระทรวงการต่างประเทศของประเทศนั้น และสถานเอกอัครราชทูตหรือสถานกงสุลใหญ่ไทยในประเทศนั้นมาแสดงต่อกรมการกงสุลก่อน
Q

ทะเบียนสมรสที่ออกโดยโบสถ์ หากนำมารับรองที่กรมการกงสุล แจ้งวัฒนะ ต้องผ่านการรับรองที่ใดมาก่อนหรือไม่

ทะเบียนสมรสที่ออกโดยโบสถ์ หากนำมารับรองที่กรมการกงสุล แจ้งวัฒนะ ต้องผ่านการรับรองที่ใดมาก่อนหรือไม่

A

กรมการกงสุลไม่สามารถรับรองทะเบียนสมรสที่ออกจากโบสถ์ได้ คู่สมรสต้องไปจดทะเบียนสมรสที่อำเภอมาก่อนจึงจะรับรองให้ได้

กรมการกงสุลไม่สามารถรับรองทะเบียนสมรสที่ออกจากโบสถ์ได้ คู่สมรสต้องไปจดทะเบียนสมรสที่อำเภอมาก่อนจึงจะรับรองให้ได้

Q

ใบอนุญาตสมาคมการค้า จากสมาคมการค้าของจังหวัด สามารถนำมารับรองได้หรือไม่

ใบอนุญาตสมาคมการค้า จากสมาคมการค้าของจังหวัด สามารถนำมารับรองได้หรือไม่

A

ใบสมาคมขอจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า หรือต่างจังหวัด สามารถรับรองได้ แต่ต้องมีเอกสารตัวจริง

ใบสมาคมขอจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า หรือต่างจังหวัด สามารถรับรองได้ แต่ต้องมีเอกสารตัวจริง

Q

บิดา มารดานำเอกสารของบุตรมารับรอง ที่ไม่ใช่สูติบัตรและทะเบียนบ้าน เอกสารที่ประกอบการยื่นต้องแนบสำเนาบัตรประชาชนของบุตรมาด้วยหรือไม่

บิดา มารดานำเอกสารของบุตรมารับรอง ที่ไม่ใช่สูติบัตรและทะเบียนบ้าน เอกสารที่ประกอบการยื่นต้องแนบสำเนาบัตรประชาชนของบุตรมาด้วยหรือไม่

A

ต้องใช้สำเนาบัตรประชาชนทุกครั้ง

ต้องใช้สำเนาบัตรประชาชนทุกครั้ง

Q

Statement Product (GMP) ของบริษัท จะรับรองลายมือชื่อผู้มีอำนาจลงนามของบริษัท หรือเอกสารนี้ต้องผ่านการรับรองจากหน่วยงานใดมาก่อนหรือไม่

Statement Product (GMP) ของบริษัท จะรับรองลายมือชื่อผู้มีอำนาจลงนามของบริษัท หรือเอกสารนี้ต้องผ่านการรับรองจากหน่วยงานใดมาก่อนหรือไม่

A

เป็นการรับรองลายมือชื่อของเจ้าหน้าที่ อย. (ที่มีการนำส่งลายมือชื่อเข้ามาที่กองแล้ว) หมายเหตุ สอบถามด้วยว่าเป็น GMP เกี่ยวกับอะไร เพราะเอกสาร GMP จะออกจากของ อย. เท่านั้น

เป็นการรับรองลายมือชื่อของเจ้าหน้าที่ อย. (ที่มีการนำส่งลายมือชื่อเข้ามาที่กองแล้ว) หมายเหตุ สอบถามด้วยว่าเป็น GMP เกี่ยวกับอะไร เพราะเอกสาร GMP จะออกจากของ อย. เท่านั้น

Q

กรณีที่คนไทยแจ้งเกิดบุตรที่สถานเอกอัครราชทูตและสถานกงสุลใหญ่ เมื่อเดินทางกลับมายังประเทศไทย ทำใบสูติบัตรสูญหาย หากต้องการขอคัดสำเนา ต้องทำอย่างไร

กรณีที่คนไทยแจ้งเกิดบุตรที่สถานเอกอัครราชทูตและสถานกงสุลใหญ่ เมื่อเดินทางกลับมายังประเทศไทย ทำใบสูติบัตรสูญหาย หากต้องการขอคัดสำเนา ต้องทำอย่างไร

A

สามารถติดต่อขอคัดสำเนาได้ที่กองสัญชาติและนิติกรณ์ โดยใช้เวลา 2-3 เดือน ทางกองจะส่งเอกสารไปยังสถานทูตที่ออกใบสูติบัตรเพื่อทำการคัด แล้วส่งมาที่กองสัญชาติและนิติกรณ์
เอกสารที่ต้องเตรียม ดังนี้
1. บัตรประชาชนบิดา มารดาตัวจริงพร้อมสำเนา (มาทั้ง 2 คน)
2. ทะเบียนบ้านของบิดา มารดาตัวจริงพร้อมสำเนา
3. หนังสือเดินทางของบุตรตัวจริงพร้อมสำเนา
4. หากมีสำเนาสูติบัตรที่สูญหายนำมาด้วยเพื่อความรวดเร็วในการคัดสำเนาให้ของสถานทูต
5. หากบุตรมีชื่อในทะเบียนบ้าน ให้ถ่ายสำเนาทะเบียนบ้านมาด้วย

สามารถติดต่อขอคัดสำเนาได้ที่กองสัญชาติและนิติกรณ์ โดยใช้เวลา 2-3 เดือน ทางกองจะส่งเอกสารไปยังสถานทูตที่ออกใบสูติบัตรเพื่อทำการคัด แล้วส่งมาที่กองสัญชาติและนิติกรณ์
เอกสารที่ต้องเตรียม ดังนี้
1. บัตรประชาชนบิดา มารดาตัวจริงพร้อมสำเนา (มาทั้ง 2 คน)
2. ทะเบียนบ้านของบิดา มารดาตัวจริงพร้อมสำเนา
3. หนังสือเดินทางของบุตรตัวจริงพร้อมสำเนา
4. หากมีสำเนาสูติบัตรที่สูญหายนำมาด้วยเพื่อความรวดเร็วในการคัดสำเนาให้ของสถานทูต
5. หากบุตรมีชื่อในทะเบียนบ้าน ให้ถ่ายสำเนาทะเบียนบ้านมาด้วย

Q

ในกรณีที่ต้องการนำเอกสารคำพิพากษาจากศาลมารับรอง ในส่วนเอกสารที่อยู่คู่กับคำพิพากษาของศาล มีเอกสารสำเนาทะเบียนบ้านและสำเนาบัตรประชาชนของคู่กรณี หากต้องการรับรองควรทำอย่างไร

ในกรณีที่ต้องการนำเอกสารคำพิพากษาจากศาลมารับรอง ในส่วนเอกสารที่อยู่คู่กับคำพิพากษาของศาล มีเอกสารสำเนาทะเบียนบ้านและสำเนาบัตรประชาชนของคู่กรณี หากต้องการรับรองควรทำอย่างไร

A

แนะนำให้นำเอกสารมาติดต่อที่กองสัญชาติและนิติกรณ์ เพื่อตรวจสอบเอกสาร

แนะนำให้นำเอกสารมาติดต่อที่กองสัญชาติและนิติกรณ์ เพื่อตรวจสอบเอกสาร

Q

เอกสารหนังสือรับรองเงินฝากจากธนาคารไทยพาณิชย์ มีต้นฉบับเป็นภาษาไทย จะรับรองคำแปลอังกฤษ สามารถรับรองได้หรือไม่ และจะต้องแนบเอกสารอะไรบ้าง

เอกสารหนังสือรับรองเงินฝากจากธนาคารไทยพาณิชย์ มีต้นฉบับเป็นภาษาไทย จะรับรองคำแปลอังกฤษ สามารถรับรองได้หรือไม่ และจะต้องแนบเอกสารอะไรบ้าง

A

หากเป็นสมุดบัญชีธนาคารไม่ได้รับรอง ให้เจ้าของบัญชีติดต่อธนาคารเพื่อออกหนังสือรับรองการมีบัญชีของธนาคารเป็นฉบับภาษาอังกฤษ แล้วจึงนำมารับรองที่กองสัญชาติและนิติกรณ์

หากเป็นสมุดบัญชีธนาคารไม่ได้รับรอง ให้เจ้าของบัญชีติดต่อธนาคารเพื่อออกหนังสือรับรองการมีบัญชีของธนาคารเป็นฉบับภาษาอังกฤษ แล้วจึงนำมารับรองที่กองสัญชาติและนิติกรณ์

Q

ในกรณีที่สามีมีสัญชาติไทย ส่วนภรรยาเป็นคนต่างด้าว ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน มีบุตร 1 คน ปัจจุบันอาศัยอยู่ที่ต่างประเทศ มีความประสงค์จะแจ้งเกิดเพื่อขอสัญชาติไทยให้กับบุตรที่สถานทูตไทย สามารถทำได้หรือไม่

ในกรณีที่สามีมีสัญชาติไทย ส่วนภรรยาเป็นคนต่างด้าว ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน มีบุตร 1 คน ปัจจุบันอาศัยอยู่ที่ต่างประเทศ มีความประสงค์จะแจ้งเกิดเพื่อขอสัญชาติไทยให้กับบุตรที่สถานทูตไทย สามารถทำได้หรือไม่

A

จะต้องแต่งงานจดทะเบียนสมรสเท่านั้น หากแต่งงานหลังจากที่ลูกเกิดสามารถขอสัญชาติไทยให้กับลูกได้

จะต้องแต่งงานจดทะเบียนสมรสเท่านั้น หากแต่งงานหลังจากที่ลูกเกิดสามารถขอสัญชาติไทยให้กับลูกได้

Q

คู่สามีภรรยาต่างด้าวมีบุตร 2 คน เกิดและอาศัยอยู่ในประเทศไทยมานานสิบกว่าปี ต้องการขอหนังสือรับรองว่าไม่ใช่คนไทย เพื่อนำบุตรไปทำบัตรประชาชนและนำชื่อเข้าทะเบียนบ้านที่ประเทศบ้านเกิด จะสามารถขอเอกสารดังกล่าวได้จากที่ใด

คู่สามีภรรยาต่างด้าวมีบุตร 2 คน เกิดและอาศัยอยู่ในประเทศไทยมานานสิบกว่าปี ต้องการขอหนังสือรับรองว่าไม่ใช่คนไทย เพื่อนำบุตรไปทำบัตรประชาชนและนำชื่อเข้าทะเบียนบ้านที่ประเทศบ้านเกิด จะสามารถขอเอกสารดังกล่าวได้จากที่ใด

A

นำใบสูติบัตรมาที่กองสัญชาติและนิติกรณ์ กรมการกงสุล เพื่อรับรองเป็นใบเกิดไทย ซึ่งในใบเกิดจะระบุอยู่แล้วว่าไม่ใช่สัญชาติไทย

นำใบสูติบัตรมาที่กองสัญชาติและนิติกรณ์ กรมการกงสุล เพื่อรับรองเป็นใบเกิดไทย ซึ่งในใบเกิดจะระบุอยู่แล้วว่าไม่ใช่สัญชาติไทย

Q

Certificate of Origin (C/O) และ Invoice มารับรอง จะต้องนำอะไรมาบ้าง ?

Certificate of Origin (C/O) และ Invoice มารับรอง จะต้องนำอะไรมาบ้าง ?

A

เอกสาร C/O , Invoice จะต้องผ่านการรับรองจากหอการค้าไทยก่อนที่จะนำไปให้กองสัญชาติฯ รับรองเอกสาร โดยมีเอกสารประกอบเพื่อยื่นขอรับรองนิติกรณ์เอกสารดังนี้
   1.หนังสือมอบอำนาจจากกรรมการบริษัท ติดอากรแสตมป์ 10 บาท
   2. สำเนาหนังสือรับรองบริษัท อายุไม่เกิน 6 เดือน พร้อมประทับตราบริษัทและรับรองสำเนาถูกต้องโดยกรรมการบริษัท
   3. สำเนาบัตรประชาชนผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจ

เอกสาร C/O , Invoice จะต้องผ่านการรับรองจากหอการค้าไทยก่อนที่จะนำไปให้กองสัญชาติฯ รับรองเอกสาร โดยมีเอกสารประกอบเพื่อยื่นขอรับรองนิติกรณ์เอกสารดังนี้
   1.หนังสือมอบอำนาจจากกรรมการบริษัท ติดอากรแสตมป์ 10 บาท
   2. สำเนาหนังสือรับรองบริษัท อายุไม่เกิน 6 เดือน พร้อมประทับตราบริษัทและรับรองสำเนาถูกต้องโดยกรรมการบริษัท
   3. สำเนาบัตรประชาชนผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจ

Q

คนไทยเมื่อแปลงชาติเป็นคนต่างด้าวแล้ว จะเสียสัญชาติไทยโดยทันทีหรือไม่ ?

คนไทยเมื่อแปลงชาติเป็นคนต่างด้าวแล้ว จะเสียสัญชาติไทยโดยทันทีหรือไม่ ?

A

คนไทยที่แปลงสัญชาติเป็นคนต่างด้าวย่อมเสียสัญชาติไทย แต่การนี้จะมีผลก็ต่อเมื่อมีการประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วเท่านั้น ดังนั้น มหาดไทยจึงขอให้สถานทูตส่งชื่อที่อยู่ของคนไทยที่แปลงชาติไปยังมหาดไทยเพื่อประกาศให้เสียสัญชาติในราชกิจจานุเบกษาต่อไป

คนไทยที่แปลงสัญชาติเป็นคนต่างด้าวย่อมเสียสัญชาติไทย แต่การนี้จะมีผลก็ต่อเมื่อมีการประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วเท่านั้น ดังนั้น มหาดไทยจึงขอให้สถานทูตส่งชื่อที่อยู่ของคนไทยที่แปลงชาติไปยังมหาดไทยเพื่อประกาศให้เสียสัญชาติในราชกิจจานุเบกษาต่อไป

Q

เอกสารที่บริษัทเอกชนทั่วไปออกเองเพื่อนำไปใช้ในต่างประเทศ เช่น หนังสือมอบอำนาจ จะต้องรับรองอย่างไร ?

เอกสารที่บริษัทเอกชนทั่วไปออกเองเพื่อนำไปใช้ในต่างประเทศ เช่น หนังสือมอบอำนาจ จะต้องรับรองอย่างไร ?

A

กองสัญชาติฯ จะรับรองลายมือชื่อกรรมการบริษัทที่ลงนามในเอกสาร โดยกรรมการบริษัทผู้นั้นจะต้องมาลงนามต่อหน้าที่เจ้าหน้าที่กองสัญชาติฯ พร้อมเอกสารประกอบ คือ สำเนาหนังสือรับรองบริษัท อายุไม่เกิน 6 เดือน และบัตรประจำตัวประชาชนหรือหนังสือเดินทางฉบับจริง พร้อมสำเนา กรณีชาวต่างชาติให้ใช้หนังสือเดินทาง พร้อมสำเนา

กองสัญชาติฯ จะรับรองลายมือชื่อกรรมการบริษัทที่ลงนามในเอกสาร โดยกรรมการบริษัทผู้นั้นจะต้องมาลงนามต่อหน้าที่เจ้าหน้าที่กองสัญชาติฯ พร้อมเอกสารประกอบ คือ สำเนาหนังสือรับรองบริษัท อายุไม่เกิน 6 เดือน และบัตรประจำตัวประชาชนหรือหนังสือเดินทางฉบับจริง พร้อมสำเนา กรณีชาวต่างชาติให้ใช้หนังสือเดินทาง พร้อมสำเนา

Q

ปัจจุบันการรับรองนิติกรณ์เอกสารใช้วิธีตรวจสอบลายมือชื่อของหน่วยงานที่ออกเอกสารอย่างไร ?

ปัจจุบันการรับรองนิติกรณ์เอกสารใช้วิธีตรวจสอบลายมือชื่อของหน่วยงานที่ออกเอกสารอย่างไร ?

A

การรับรองนิติกรณ์เอกสาร ประเภทการรับรองลายมือชื่อของผู็มีอำนาจในการลงนามในเอกสารของหน่วยงานต่างๆ นั้น โดยปกติหน่วยงานผู็ออกเอกสารจะมีหนังสือแจ้ง กต. เรื่องรายชื่อผู้มีอำนาจลงนามในเอกสาร พร้อมกับตัวอย่างลายมือชื่อของเจ้าหน้าที่ โดยกองสัญชาติฯ จะสแกนเก็บภาพตัวอย่างลายมือชื่อไว้ในระบบการรับรองนิติกรณ์เอกสาร (และจัดเก็บหนังสือดังกล่าวไว้ในแฟ้ม) เมื่อประชาชนนำเอกสารจากหน่วยงานนั้นๆ มาขอรับรองนิติกรณ์เอกสาร เจ้าหน้าที่จะตรวจสอบลายมือชื่อที่ปรากฎในเอกสาร เทียบเคียงกับภาพตัวอย่างลายมือชื่อที่สแกนเก็บไว้ โดยจะค้นหาจากการพิมพ์ชื่อบุคคล หรือชื่อหน่วยงานนั้นๆ ในระบบจะรับรองนิติกรณ์เอกสาร

การรับรองนิติกรณ์เอกสาร ประเภทการรับรองลายมือชื่อของผู็มีอำนาจในการลงนามในเอกสารของหน่วยงานต่างๆ นั้น โดยปกติหน่วยงานผู็ออกเอกสารจะมีหนังสือแจ้ง กต. เรื่องรายชื่อผู้มีอำนาจลงนามในเอกสาร พร้อมกับตัวอย่างลายมือชื่อของเจ้าหน้าที่ โดยกองสัญชาติฯ จะสแกนเก็บภาพตัวอย่างลายมือชื่อไว้ในระบบการรับรองนิติกรณ์เอกสาร (และจัดเก็บหนังสือดังกล่าวไว้ในแฟ้ม) เมื่อประชาชนนำเอกสารจากหน่วยงานนั้นๆ มาขอรับรองนิติกรณ์เอกสาร เจ้าหน้าที่จะตรวจสอบลายมือชื่อที่ปรากฎในเอกสาร เทียบเคียงกับภาพตัวอย่างลายมือชื่อที่สแกนเก็บไว้ โดยจะค้นหาจากการพิมพ์ชื่อบุคคล หรือชื่อหน่วยงานนั้นๆ ในระบบจะรับรองนิติกรณ์เอกสาร

Q

หลังจากชำระค่าธรรมเนียมรับรองเอกสารแล้ว สามารถขอรับค่าธรรมเนียมคืนได้หรือไม่ ?

หลังจากชำระค่าธรรมเนียมรับรองเอกสารแล้ว สามารถขอรับค่าธรรมเนียมคืนได้หรือไม่ ?

A

ขอสงวนสิทธิการคืนค่าธรรมเนียมภายหลังการชำระเงินในทุกกรณี

ขอสงวนสิทธิการคืนค่าธรรมเนียมภายหลังการชำระเงินในทุกกรณี