เมื่อไปทำงานที่ต่างประเทศ แต่ไม่ได้รับความเป็นธรรม เช่น ไม่ได้รับเงินค่าจ้าง อีกทั้งยังถูกยึดหนังสือเดินทาง ทำให้ไม่สามารถเดินทางกลับมายังประเทศไทยได้ จะดำเนินการอย่างไรได้บ้าง
เมื่อไปทำงานที่ต่างประเทศ แต่ไม่ได้รับความเป็นธรรม เช่น ไม่ได้รับเงินค่าจ้าง อีกทั้งยังถูกยึดหนังสือเดินทาง ทำให้ไม่สามารถเดินทางกลับมายังประเทศไทยได้ จะดำเนินการอย่างไรได้บ้าง
ติดต่อที่กองคุ้มครองฯหรือสถานทูตไทย เพื่อขอความช่วยเหลือ
ติดต่อที่กองคุ้มครองฯหรือสถานทูตไทย เพื่อขอความช่วยเหลือ
หากคนไทยประสบอุบัติเหตุอยู่ที่ต่างประเทศ รักษาอยู่ห้องไอซียู ทางบ้านต้องการย้ายผู้ป่วยกลับมารักษาตัวที่ประเทศไทย จะต้องดำเนินการอย่างไร
หากคนไทยประสบอุบัติเหตุอยู่ที่ต่างประเทศ รักษาอยู่ห้องไอซียู ทางบ้านต้องการย้ายผู้ป่วยกลับมารักษาตัวที่ประเทศไทย จะต้องดำเนินการอย่างไร
แนะนำให้ติดต่อสถานทูตไทยที่ประเทศนั้นๆ เพื่อดำเนินการ
แนะนำให้ติดต่อสถานทูตไทยที่ประเทศนั้นๆ เพื่อดำเนินการ
ในกรณีไปทำงานในต่างประเทศ แต่วีซ่าหมดอายุ ทางบริษัทที่ไปทำงานด้วยไม่ต่อวีซ่าให้และไม่ยินยอมซื้อตั๋วเครื่องบินเพื่อให้เดินทางกลับมายังประเทศไทย ตอนนี้จึงอาศัยอยู่โดยไม่มีวีซ่ามาประมาณ 1 เดือน หากต้องการกลับประเทศไทยควรทำอย่างไร
ในกรณีไปทำงานในต่างประเทศ แต่วีซ่าหมดอายุ ทางบริษัทที่ไปทำงานด้วยไม่ต่อวีซ่าให้และไม่ยินยอมซื้อตั๋วเครื่องบินเพื่อให้เดินทางกลับมายังประเทศไทย ตอนนี้จึงอาศัยอยู่โดยไม่มีวีซ่ามาประมาณ 1 เดือน หากต้องการกลับประเทศไทยควรทำอย่างไร
แนะนำให้ติดต่อสถานทูตไทยในประเทศนั้น ๆ
แนะนำให้ติดต่อสถานทูตไทยในประเทศนั้น ๆ
คนไทยเดินทางไปทำงานแบบผิดกฎหมายที่ต่างประเทศ และไม่ได้รับความเป็นธรรม หรือถูกจับ หากญาติที่ประเทศไทยต้องการขอความช่วยเหลือ จะต้องติดต่อกับสถานทูตไทยในประเทศนั้น ๆ หรือติดต่อที่กองคุ้มครองฯ
คนไทยเดินทางไปทำงานแบบผิดกฎหมายที่ต่างประเทศ และไม่ได้รับความเป็นธรรม หรือถูกจับ หากญาติที่ประเทศไทยต้องการขอความช่วยเหลือ จะต้องติดต่อกับสถานทูตไทยในประเทศนั้น ๆ หรือติดต่อที่กองคุ้มครองฯ
สามารถติดต่อที่กองคุ้มครองฯ หรือสถานทูตไทย เพื่อขอความช่วยเหลือ
สามารถติดต่อที่กองคุ้มครองฯ หรือสถานทูตไทย เพื่อขอความช่วยเหลือ
เมื่อไปทำงานที่ต่างประเทศอย่างถูกกฎหมาย โดยมีสัญญาการว่าจ้างที่ถูกต้องระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง และไม่ได้รับความเป็นธรรม ถ้าต้องการเรียกร้องขอความช่วยเหลือ ทางกรมการกงสุลสามารถช่วยเหลืออย่างไรได้บ้าง
เมื่อไปทำงานที่ต่างประเทศอย่างถูกกฎหมาย โดยมีสัญญาการว่าจ้างที่ถูกต้องระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง และไม่ได้รับความเป็นธรรม ถ้าต้องการเรียกร้องขอความช่วยเหลือ ทางกรมการกงสุลสามารถช่วยเหลืออย่างไรได้บ้าง
ให้ติดต่อกรมแรงงาน (เนื่องจากจะมีกรมแรงงานตั้งอยู่ประเทศ นั้น ๆ) และสถานทูต เพราะเป็นตัวกลางระว่างนายจ้างกับลูกจ้าง
ให้ติดต่อกรมแรงงาน (เนื่องจากจะมีกรมแรงงานตั้งอยู่ประเทศ นั้น ๆ) และสถานทูต เพราะเป็นตัวกลางระว่างนายจ้างกับลูกจ้าง
กรณีที่เดินทางไปต่างประเทศ แล้วติดอยู่ที่ตม. รอส่งตัวกลับ ระหว่างรอส่งตัวกลับ เจ้าหน้าที่ตม.ไม่ให้ทานอาหาร และไม่ได้รับความเป็นธรรม จึงอยากขอความช่วยเหลือ จะสามารถติดต่อได้ที่ไหน
กรณีที่เดินทางไปต่างประเทศ แล้วติดอยู่ที่ตม. รอส่งตัวกลับ ระหว่างรอส่งตัวกลับ เจ้าหน้าที่ตม.ไม่ให้ทานอาหาร และไม่ได้รับความเป็นธรรม จึงอยากขอความช่วยเหลือ จะสามารถติดต่อได้ที่ไหน
ให้ติดต่อสถานทูตเพื่อให้สถานทูตประสานงานและดำเนินการช่วยเหลือระหว่างก่อนการถูกส่งตัวกลับ
ให้ติดต่อสถานทูตเพื่อให้สถานทูตประสานงานและดำเนินการช่วยเหลือระหว่างก่อนการถูกส่งตัวกลับ
ในกรณีที่ไปทำงานที่ต่างประเทศ และเสียชีวิต ต้องการนำศพกลับมายังประเทศไทย และได้มีการติดต่อที่สถานทูตไทยในต่างประเทศนั้นแล้ว จำเป็นต้องมายื่นเรื่องที่กรมการกงสุล แจ้งวัฒนะอีกหรือไม่
ในกรณีที่ไปทำงานที่ต่างประเทศ และเสียชีวิต ต้องการนำศพกลับมายังประเทศไทย และได้มีการติดต่อที่สถานทูตไทยในต่างประเทศนั้นแล้ว จำเป็นต้องมายื่นเรื่องที่กรมการกงสุล แจ้งวัฒนะอีกหรือไม่
ให้ประชาชนโทรติดต่อประสานงานที่กองคุ้มครองคนไทยในต่างประเทศโดยตรง 02 575 1023
ให้ประชาชนโทรติดต่อประสานงานที่กองคุ้มครองคนไทยในต่างประเทศโดยตรง 02 575 1023
หากต้องการให้ช่วยตามหาญาติที่เดินทางไปทำงานในต่างประเทศแล้วขาดการติดต่อเป็นเวลานาน 10 ปี โดยที่ไม่ทราบข้อมูลอะไรเลย สามารถติดต่อขอให้ทางกองคุ้มครองคนไทยในต่างประเทศช่วยตรวจสอบได้หรือไม่
หากต้องการให้ช่วยตามหาญาติที่เดินทางไปทำงานในต่างประเทศแล้วขาดการติดต่อเป็นเวลานาน 10 ปี โดยที่ไม่ทราบข้อมูลอะไรเลย สามารถติดต่อขอให้ทางกองคุ้มครองคนไทยในต่างประเทศช่วยตรวจสอบได้หรือไม่
แนะนำให้ประชาชนติดต่อที่กองคุ้มครองคนไทยในต่างประเทศ ชั้น 3 โดยตรง โดยสามารถติดต่อสอบถามข้อมูลก่อนได้ที่ 02 575 1023
แนะนำให้ประชาชนติดต่อที่กองคุ้มครองคนไทยในต่างประเทศ ชั้น 3 โดยตรง โดยสามารถติดต่อสอบถามข้อมูลก่อนได้ที่ 02 575 1023
กรณีที่ติดอยู่ที่ ตม. มากกว่า 1 อาทิตย์ และยังไม่ถูกปล่อยตัวกลับประเทศไทย ญาติสามารถติดต่อสอบถามข้อมูลได้จากหน่วยงานใด
กรณีที่ติดอยู่ที่ ตม. มากกว่า 1 อาทิตย์ และยังไม่ถูกปล่อยตัวกลับประเทศไทย ญาติสามารถติดต่อสอบถามข้อมูลได้จากหน่วยงานใด
ควรติดต่อที่สถานทูตไทย ณ ประเทศนั้น ๆ เพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อประสานงานไปยังสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองประเทศนั้น ๆ
ควรติดต่อที่สถานทูตไทย ณ ประเทศนั้น ๆ เพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อประสานงานไปยังสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองประเทศนั้น ๆ
เมื่อผู้เดินทางไปต่างประเทศขาดการติดต่อเป็นเวลานานหลายวัน หากต้องการตรวจสอบว่าถูกจับหรือไม่ ญาติจะสามารถตรวจสอบข้อมูลได้จากที่สถานทูตไทยหรือกองคุ้มครองคนไทยในต่างประเทศ
เมื่อผู้เดินทางไปต่างประเทศขาดการติดต่อเป็นเวลานานหลายวัน หากต้องการตรวจสอบว่าถูกจับหรือไม่ ญาติจะสามารถตรวจสอบข้อมูลได้จากที่สถานทูตไทยหรือกองคุ้มครองคนไทยในต่างประเทศ
สามารถตรวจสอบข้อมูลได้จากสถานทูตไทยในประเทศนั้น ๆ
สามารถตรวจสอบข้อมูลได้จากสถานทูตไทยในประเทศนั้น ๆ
ในกรณีที่ได้รับความเดือดร้อนในต่างประเทศหากมีค่าใช้จ่ายจะต้องรับผิดชอบหรือไม่ เพียงใด ?
ในกรณีที่ได้รับความเดือดร้อนในต่างประเทศหากมีค่าใช้จ่ายจะต้องรับผิดชอบหรือไม่ เพียงใด ?
เป็นหลักปฏิบัติทั่วไป และเป็นสากลว่า ผู้ที่เดินทางไปต่างประเทศจะต้องรับผิดชอบตัวเองเป็นอันดับแรก อย่างไรก็ดีกรณีฉุกเฉิน และไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ รวมทั้งญาติ พี่น้องในประเทศไทยมีฐานะยากจนไม่สามารถรับผิดชอบค่าใช้จ่ายได้ รัฐบาลมีแนวปฏิบัติที่จะทดรองจ่ายค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นไปก่อน โดยญาติ พี่น้อง หรือตัวผู้ตกทุกข์ได้ยากในต่างประเทศจะต้องทำหนังสือสัญญารับสภาพหนี้ และหนังสือสัญญาชดใช้เงินคืน ไว้กับทางราชการภายในขอบเขต และหลักเกณฑ์ของระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือคนไทยในต่างประเทศ พ.ศ. 2541 ทั้งนี้ ไม่รวมค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวกับการฟ้องร้องทางแพ่ง เช่นการจ้างทนายความ หรือค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับคดีดังกล่าว
เป็นหลักปฏิบัติทั่วไป และเป็นสากลว่า ผู้ที่เดินทางไปต่างประเทศจะต้องรับผิดชอบตัวเองเป็นอันดับแรก อย่างไรก็ดีกรณีฉุกเฉิน และไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ รวมทั้งญาติ พี่น้องในประเทศไทยมีฐานะยากจนไม่สามารถรับผิดชอบค่าใช้จ่ายได้ รัฐบาลมีแนวปฏิบัติที่จะทดรองจ่ายค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นไปก่อน โดยญาติ พี่น้อง หรือตัวผู้ตกทุกข์ได้ยากในต่างประเทศจะต้องทำหนังสือสัญญารับสภาพหนี้ และหนังสือสัญญาชดใช้เงินคืน ไว้กับทางราชการภายในขอบเขต และหลักเกณฑ์ของระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือคนไทยในต่างประเทศ พ.ศ. 2541 ทั้งนี้ ไม่รวมค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวกับการฟ้องร้องทางแพ่ง เช่นการจ้างทนายความ หรือค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับคดีดังกล่าว
หากเดินทางไปพำนักต่างประเทศระยะยาว ควรปฏิบัติเช่นใดเมื่อเดินทางไปถึง ?
หากเดินทางไปพำนักต่างประเทศระยะยาว ควรปฏิบัติเช่นใดเมื่อเดินทางไปถึง ?
ผู้ที่จะไปพำนักในต่างประเทศควรปฏิบัติดังนี้
1. ไปรายงานตัวต่อสถานเอกอัครราชทูต หรือสถานกงสุลใหญ่ไทยในประเทศ / เมือง นั้นๆ
เพื่อประโยชน์ของตัวท่านเอง ในกรณีที่ทางราชการไทยจะส่งข่าว หรือการแจ้งเตือนใดๆ
2. จดหมายเลขโทรศัพท์ Hotline ของสถานเอกอัครราชทูต หรือสถานกงสุลใหญ่ไทย เพื่อติดต่อกรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน
ผู้ที่จะไปพำนักในต่างประเทศควรปฏิบัติดังนี้
1. ไปรายงานตัวต่อสถานเอกอัครราชทูต หรือสถานกงสุลใหญ่ไทยในประเทศ / เมือง นั้นๆ
เพื่อประโยชน์ของตัวท่านเอง ในกรณีที่ทางราชการไทยจะส่งข่าว หรือการแจ้งเตือนใดๆ
2. จดหมายเลขโทรศัพท์ Hotline ของสถานเอกอัครราชทูต หรือสถานกงสุลใหญ่ไทย เพื่อติดต่อกรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน