อธิบดีกรมการกงสุล ได้เป็นประธานเปิดการประชุมเตรียมการสำหรับการเข้าร่วมเป็นภาคีอนุสัญญากรุงเฮกว่าด้วยการยกเลิกข้อกำหนดของการนิติกรณ์สำหรับเอกสารมหาชนจากต่างประเทศ ค.ศ. ๑๙๖๑ ของประเทศไทย

อธิบดีกรมการกงสุล ได้เป็นประธานเปิดการประชุมเตรียมการสำหรับการเข้าร่วมเป็นภาคีอนุสัญญากรุงเฮกว่าด้วยการยกเลิกข้อกำหนดของการนิติกรณ์สำหรับเอกสารมหาชนจากต่างประเทศ ค.ศ. ๑๙๖๑ ของประเทศไทย

วันที่นำเข้าข้อมูล 5 ก.ย. 2565

วันที่ปรับปรุงข้อมูล 5 ก.ย. 2565

| 1,610 view
         เมื่อวันที่ 2 กันยายน 2565 นายฉัตรชัย วิริยเวชกุล อธิบดีกรมการกงสุล ได้เป็นประธานเปิดการประชุมเตรียมการสำหรับการเข้าร่วมเป็นภาคีอนุสัญญากรุงเฮกว่าด้วยการยกเลิกข้อกำหนดของการนิติกรณ์สำหรับเอกสารมหาชนจากต่างประเทศ ค.ศ. ๑๙๖๑ ของประเทศไทย (The Convention of 5 October 1961Abolishing the Requirement of Legalization for Foreign Public Documents: Apostille Convention) ณ ห้องประชุมพิมานแมน โรงแรมอนันตรา สยาม (Anantara Siam) โดยได้เชิญผู้แทนจากส่วนราชการและหน่วยงานที่อาจจะเป็นหน่วยงานนำร่องในการออกเอกสารแบบ Apostille เช่น กระทรวงยุติธรรมกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงอุดมศึกษาฯ สำนักงานตำรวจแห่งชาติกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย กรมการปกครอง กรมปศุสัตว์กรมประมง กรมการจัดหางาน กรมการค้าต่างประเทศ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กรุงเทพมหานคร สมาคมแพทย์แผนไทย สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย อย. ฯลฯ เข้าร่วม เพื่อรับฟังการบรรยาย เรื่อง “พันธกรณีภายใต้อนุสัญญากรุงเฮกว่าด้วยการยกเลิกข้อกำหนดของการนิติกรณ์สำหรับเอกสารมหาชนจากต่างประเทศและประโยชน์ที่ได้รับจากการเข้าเป็นภาคี” โดยนายทรงชัย ชัยปฏิยุทธ รองอธิบดีกรมสนธิสัญญาและ กฎหมาย และการบรรยายเรื่อง “แนวทางการนิติกรณ์เอกสารในปัจจุบัน และรูปแบบการนิติกรณ์เอกสารแบบApostille” โดยนางสาวศิริพร ศุภนิมิตวิเศษกุล ผู้อำนวยการกองสัญชาติและนิติกรณ์กรมการกงสุล และนายณรงค์บุญเสถียรวงศ์รองอธิบดีกรมการกงสุลกล่าวปิดการประชุมโดยเน้นย้ำถึงความสำคัญของความพร้อมที่จะให้บริการทั้ง 4 บริการหลักของกรมการกงสุล ได้แก่ 1.หนังสือเดินทาง ซึ่งให้บริการแก่คนไทย 2. E-visa ซึ่งให้บริการแก่คนต่างชาติ 3. นิติกรณ์เอกสาร ซึ่งให้บริการทั้งบุคคลธรรมดา ส่วนราชการ และภาคเอกชนทั้งไทยและต่างชาติ และในท้ายที่สุด 4. การให้ความช่วยเหลือ กรณีที่คนไทยประสบความทุกข์ยากลำบากในต่างประเทศ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเปิดโอกาสให้หน่วยงานต่างๆ ได้ซักถามและร่วมให้ข้อมูลเกี่ยวกับความเป็นไปได้ในการเข้าร่วมเป็นหน่วยงานนำร่องในการออกเอกสารตามระบบ Apostille ซึ่งเป็นประโยชน์ในการลดขั้นตอนการรับรองนิติกรณ์ของส่วนราชการ ซึ่งเป็นการเพิ่มความสะดวกในการนำเอกสารไทยไปใช้ในต่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นประชาชนหรือภาคเอกชนที่มีความจำเป็นในการใช้เอกสารต่างๆ หรือการนำเอกสารจากต่างประเทศมาใช้ในประเทศไทย และยังช่วยดึงดูดภาคธุรกิจและการลงทุนของชาวต่างชาติมายังประเทศไทย เนื่องจากมีความสะดวกในการประกอบธุรกิจในประเทศไทยมากขึ้น
 

รูปภาพประกอบ

รูปภาพประกอบ